วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

แนะนำตัวเอง



ชื่อ นางสาว นงคราญ โนรี รหัสนักศึกษา 581705101 ( การจัดการ)
วิชา GEN1102 เทคโนโลยีสารสานเทศในชีวิตประจำวัน Section.AF

ภาษาประเพณีและการแต่งกายของชาวเขาเผ่าลัวะ

ภาษา
               

ภาษาของลัวะจัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตร-เอเซียนติด และได้รับอิทธิพลจากภาษาของพวกมอญ – เขมรด้วย  ภาษาของลัวะมีแตกต่างกันหลายกลุ่มแต่แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้2กลุ่ม คือกลุ่มวาวูใช้พูดกันในหมู่ลัวะเขตลุ่มน้ำปิงเช่นบ้านบ่อหลวง อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มอังกาใช้พูดกันในเขตตะวันตกเขตอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนความแตกต่างกันของภาษานี้จะต่างกันไปตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างกันแต่สามารถเข้าใจกันได้ นอกจากนี้ยังนำคำในภาษาไทยพื้นเมืองทางเหนือไปใช้เป็นจำนวนมาก ทั้งยังสามารถพูดภาษาไทยได้ด้วย

ประเพณี
ประเพณีผีตาโขนของลัวะ เป็นประเพณีที่เริ่มต้นกันมาตั้งแต่สมัยที่พระพุทธเจ้าได้ปรินิพานเนื่องจากขณะนั้นคาดกันว่าจะมีมารและปีศาสร้ายทั้งหลายจะมาทำร้ายพระศพของพระสัมมนาสัมพุทธเจ้าดังนี้จึงได้ให้คนแต่งตัวเป็นผีมาเฝ้าศพของพระองค์เอาไว้เพื่อไม่ให้มารและปีศาจร้ายทั้งหลายเลห่านั้นเห็นว่ามีผีสางเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์มารักษาพระศพของพระพุทธองค์ไว้ จะได้ไม่กล้ามาทำอะไร สำหรับประเพณีผีตาโขนของชาวเขาเผ่าลัวะนี้ ได้จัดกันทุก ๆ ปี คือ จะจัดในเดือนยี่ ขึ้น 1 ค่ำ ถึง 15 ค่ำ เป็นเวลา 15 วัน พร้อมกันนั้นก็จะถวายตุง เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้แด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ชาวบ้านจะนำเอาเสาตุงไปตัดทำเป็นลิตรใช้สำหรับตวงข้าวสาร ชาวเขาเผ่าลัวะมีความเชื่อว่าถ้าหากใช้ลิตรที่ทำด้วยเสาตุง นำมาตวงข้าวสารแล้วจะทำให้ไม่สิ้นเปลือง และจะทำให้ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์อีกด้วย นอกจากนั้นยังป้องกันโรคระบาดของสัตว์ต่าง ๆ เช่น เป็ด หมู ไก่ วัวควายได้อีกด้วยประเพณีผีตาโขนของเผ่าลัวะนี้ได้สืบทอดและรักษากันมาตั้งแต่โบราณกาลเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน 

การแต่งกาย

การประดับศีรษะผู้หญิงมักเกล้ามวยผมห้อยไปทางท้ายทอย มีผ้าสีดำหรือผ้าขาวม้าพันหัวผ้านี้เป็นการรองสายกระบุง ตะกร้าไว้บนหลัง และจะมีสายรัดมาพาดไว้บนหน้าผากซึ่งภาษาพื้นบ้านเรียกว่า“เป๊อะ”ผ้าโพกหัวก็จะมาช่วยรองสายรัดนี้ไม่ให้กดลงไปบนเนื้อหน้าผากบางครั้งอาจใช้ดอกไม้เสียบบนมวยผม ผู้ชาย โพกผ้าสีแดงเวลามีงาน เสื้อ ผู้หญิง สวมเสื้อผ่าหน้าสีดำหรือน้ำเงินเข้ม (เสื้อม่อฮ่อม) มีทั้งแขนสั้นและยาว ผู้ชาย ใส่เสื้อม่อฮ่อมผ่าหน้าหรือสวมเสื้อคอตั้งแขนกระบอกยาวสีดำ ขอบแขนสีแดง ผ้านุ่ง ผู้หญิง นุ่งผ้าสีน้ำเงินหรือสีดำ หรือสวมซิ่น ผู้ชาย นุ่งโจงกระเบนสีดำ หรือนุ่งเตี่ยวสามดูกสีดำแบบคนเมืองทั่วไป เครื่องประดับ ทั้งชายและหญิง มีการเจาะหู โดยอาจใช้แผ่นเงินขดเป็นวง เหลาไม้ใส่ หรืออาจใช้ดอกไม้เสียบในรูปหู

ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม




แหล่งอ้างอิง
https://sopa2006.wordpress.com/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%86/%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%B0/

http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-2/lua_tribe/index.html
http://www.mculture.in.th/moc_new/album/132425/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%B0/#ns-post-carousel-zone

ประวัติความเป็นมาของชนเผ่าลัวะ

ประวัติความเป็นมา

ชนเผ่าละเวื๊อะ เดิมทีได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ โดยมีชื่อเรียกว่า เมือง ชวงไมย อาจเป็นที่มาของการเพี้ยนมาเป็นเมืองเชียงใหม่ ณ ปัจจุบัน  ซึ่งมีเจ้าเมืองชื่อขุนหลวงวิลังคะเป็นผู้ปกครองดูแลเมือง ซึ่งขุนหลวงวิลังคะเป็นผู้มีที่วิชาอาคมแก่งกล้า ขุนหลวงวิลังคะอยากได้เจ้านางจามเทวีซึ่งเป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองหริภุญชัย (จ.ลำพูนในปัจจุบัน)มาเป็นภรรยา เจ้านางจามเวทีเองก็ต้องการได้เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองของตนเช่นกัน จึงได้ทำเล่ห์กลโดยใช้หมาก ใบพลูสอดไว้ในช่องคลอดสตรีมาให้ขุนหลวงวิลังคะกิน และใช้กางเกงในของผู้หญิงมาตัดเป็นหมวกให้ใส่ เวทมนต์และอำนาจต่างๆของขุนหลวงวิลังคะจึงเสื่อมลง เมื่ออำนาจและเวทมนต์ของขุนหลวงวิลังคะสิ้น เจ้านางจามเทวีก็ยกทัพมาตีเมือง ชวงไมยเมืองลั๊วเลยถูกตีแตกพ่ายไป ชาวลั๊วจึงหนีกระจายไปอยู่ยังที่ต่างๆ  ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้หนีไปไหน ยังคงอยู่ที่เมือง ชวงไมยแต่ก็ไม่กล้าประกาศตนว่าตนคือลั๊ว ( ความเชื่อเรื่องใบพลูจากครั้นที่เจ้านางจามเทวี นำใบพลูทำให้เวทมนต์ของขุนหลวงวิลังคะเสื่อม  จึงเป็นที่มาของการที่ชาวลั๊วจะฉีกใบพูลทิ้งนิดหนึ่งตรงปลายก่อนจะเคี้ยวหมาก เสมือนฉีกความชั่วร้ายหรือสิ่งที่ไม่ดีออกไป หรืออีกตำนานว่าเล่า กันว่าในสมัยที่พระนางจามเทวีปกครองเมืองหริภุญไชยราว พ.ศ. ๑๓๐๐ ในสมัยนั้นเล่ากันว่า นครหริภุญไชยเป็นนครของชนชาติมอญ หรือเม็ง และในขณะเดียวกันบริเวณเชิงดอยสุเทพเป็นที่ตั้งบ้านเมืองของชาวลัวะมี ขุนหลวงวิรังคะเป็นเจ้าเมืองหรือหัวหน้า ขุนหลวงวิรังคะมีความรักในพระนางจามเทวี มีความประสงค์จะอภิเษกกับพระนาง แต่พระนางไม่ปรารถนาจะสมัครรักใคร่กับขุนหลวงลัวะ เพราะเป็นกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมต่ำกว่ามอญในสมัยนั้น ขุนหลวงได้ส่งทูตมาเจริญไมตรีขอนางอภิเษกด้วย พระนางก็ผลัดผ่อนหลายครั้ง โดยมีเงื่อนไขต่าง ๆ ได้แก่ ขอให้ขุนหลวงสร้างเจดีย์ที่มีขนาดและลักษณะคล้ายกับเจดีย์พระธาตุหริภุญไชย ให้ขุนหลวงพุ่งเสน้ามาตกที่ในเมือง พระนางจึงจะอภิเษกสมรสด้วยขุนหลวงวิรังคะ เป็นผู้ทรงพลังและชำนาญในการพุ่งเสน้า (เสน้า หมายถึง หอกด้ามยาวมีสองคม) ขุนหลวงพุ่งเสน้าครั้งแรกตกที่นอกกำแพงเมืองหริภุญไชยด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ปัจจุบันเรียกว่า หนองเสน้าพระนางจามเทวีเห็นว่าจะเป็นอันตรายยิ่ง ถ้าขุนหลวงวิรังคะพุ่งเสน้ามาตกในกำแพงเมืองตามสัญญา พระนางจึงใช้วิชาคุณไสยกับขุนหลวงวิรังคะ โดยการนำเอาเศษพระภูษาของพระนางมาทำเป็นหมวกสำหรับผู้ชาย นำเอาใบพลูมาทำหมากสำหรับเคี้ยวโดยเอาปลายใบพลูมาจิ้มเลือดประจำเดือนของพระ นาง แล้วให้ทูตนำของสองสิ่งนี้ไปถวายแด่ขุนหลวง ขุนหลวงได้รับของฝากจากพระนางเป็นที่ปลาบปลื้มอย่างยิ่ง นำหมวกใบนั้นมาสวมลงบนศีรษะ และกินหมากที่พระนางทำมาถวาย ซึ่งของทั้งสองสิ่งนี้ชาวล้านนาถือว่าเป็นของต่ำ ทำให้อำนาจและพลังของขุนหลวงเสื่อมลง เมื่อพุ่งเสน้าอีกครั้งต่อมาแรงพุ่งลดลงเสน้ามาตกที่บริเวณเชิงดอยสุเทพ ชาวบ้านเรียกว่า หนองสะเหน้า เช่นเดียวกัน ขุนหลวงเมื่อเสื่อมวิทยาคุณเช่นนั้น ก็หนีออกจากบ้านเมืองไปก่อนสิ้นชีวิต ขุนหลวงวิรังคะได้ขอให้เสนาอำมาตย์นำศพของท่านไปฝังไว้ ณ สถานที่ที่ขุนหลวงจะสามารถมองเห็นเมืองหริภุญไชยได้ตลอดเวลา ทหารได้จัดขบวนศพของขุนหลวงจากเชิงดอยสุเทพขึ้นสู่บนดอยสุเทพเพื่อหาสถานที่ ฝังตามคำสั่ง ขบวนแห่ศพได้ลอดใต้เถาไม้เลื้อยชนิดหนึ่งเรียกว่า เครือเขาหลง ซึ่งเชื่อว่าถ้าผู้ใดลอดผ่านจะทำให้พลัดหลงทางกันได้ ขบวนแห่ศพขุนหลวงได้พากันพลัดหลงกระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง นักดนตรีบางคนพลัดหลงไปพร้อมกับเครื่องดนตรีของตน นิทานเล่าว่าภูเขาที่นักดนตรีผู้นั้นหลงจะปรากฏมีรูปร่างคล้ายเครื่องดนตรี นั้น ๆ บนยอดเขาสุเทพ-ปุย จะมีภูเขาชื่อต่าง ๆ ดังนี้ ดอยฆ้อง ดอยกลอง ดอยฉิ่ง ดอยสว่า บางแห่งเป็นที่แคบและฝาครอบโลงศพปลิวตก บริเวณนั้นเรียกว่า กิ่วแมวปลิว (คำว่า แมว หมายถึง ฝาครอบโลงศพที่ทำด้วยโครงไม้ไผ่ใช้ตกแต่งด้านบนของฝาโลงศพ)เสนาอามาตย์ที่หามโลงศพของขุนหลวงได้เดินทางไต่ตีนเขาไปทางทิศเหนือ ถึงบริเวณแห่งหนึ่ง โลงศพได้คว่ำตกลงจากที่หาม เสนาอามาตย์จึงได้ฝังศพของขุนหลวงไว้ ณ สถานที่บนภูเขาแห่งนี้ ซึ่งจะสามารถมองเห็นเมืองหริภุญไชยได้ตลอดเวลา ยอดภูเขานี้ชาวบ้านเรียกว่า ดอยคว่ำหล้อง (หล้อง หมายถึง โลงศพ)ปัจจุบันชาวบ้านยังเรียกชื่อภูเขาลูกนี้ว่า ดอยคว่ำหล้อง ตั้งอยู่บนภูเขาบริเวณเหนือน้ำตกแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ยอดเขาเป็นรูปสี่เหลี่ยมตัดลักษณะคล้ายโลงศพ บนยอดเขามีศาลของขุนหลวงวิรังคะตั้งอยู่ ชาวบ้านบริเวณเชิงเขาเล่าว่า กลางคืนเดือนเพ็ญบางครั้งจะได้ยินเสียงดนตรีบรรเลงบนยอดเขา เชื่อกันว่าวิญญาณของขุนหลวงสถิตอยู่บนดอยคว่ำหล้อง
บริเวณเชิงเขา มีหมู่บ้านลัวะหมู่บ้านหนึ่งชื่อว่า บ้านเมืองก๊ะ มาจากชื่อของขุนหลวงวิรังคะ เชื่อกันว่า ชาวลัวะเหล่านี้เป็นเชื้อสายของขุนหลวงวิรังคะ ที่หมู่บ้านแห่ง นี้มีศาลที่สถิตวิญญาณของขุนหลวง และทหารซ้ายและขวาของขุนหลวงอีก ๒ ศาล ชาวบ้านจะเซ่นสรวงดวงวิญญาณขุนหลวงและทหารปีละครั้ง ชาวบ้านเล่าว่า ดวงวิญญาณของขุนหลวงจะสถิตอยู่ ๓ แห่งได้แก่ บนดอยคว่ำหล้อง ศาลที่บ้านเมืองก๊ะ อำเภอแม่ริมและอีกแห่งหนึ่งคือ บริเวณดอยคำ อำเภอเมือง ซึ่งตั้งอยู่ทิศใต้ของดอยสุเทพ ปัจจุบันบนยอดดอยมีวัดชื่อว่า วัดพระธาตุดอยคำ บนวัดแห่งนี้มีอนุสาวรีย์ขุนหลวงวิรังคะประดิษฐานที่ลานวัดใกล้เจดีย์ และที่ดอยคำแห่งนี้เป็นที่สถิตดวงวิญญาณของหัวหน้าลัวะซึ่งเป็นบรรพบุรุษของขุนหลวงวิรังคะ ชื่อว่า ปู่แสะ ย่าแสะ ซึ่งจะมีการเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะ ด้วยควายทุกปี หรือ ๓ ปีครั้ง

แหล่งอ้างอิง
http://www.hilltribe.org/autopage/show_page.php?h=133&s_id=3&d_id=1

เชื้อชาติภาษาวัฒนธรรมประเพณีและการแต่งกายของไทใหญ่

เชื้อชาติ
ชาวไทใหญ่ทั้งหมดสามมารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้
  1. 1. ชาวไทใหญ่ หรือไทหลวง(ไตโหลง)
  2. 2. ชาวไทลื้อ มีถิ่นฐานอยู่ในแคว้นสิบสองปันนาของประเทศจีน และทางตะวันออกของรัฐฉาน
  3. 3. ชาวไทเขิน(ไตขึน) เป็นประชากรส่วนใหญ่ของเมืองเชียงตุง
  4. 4. ชาวไทเหนือ(ไตเหลอ) อาศัยอยู่ในแค้วนใต้คง(เต้อหง) ของประเทศจีน
ภาษา
แม้ภาษาไทใหญ่รัฐ ฉานที่อนุญาตให้สอนในอดีตนั้น ภาษาไทใหญ่เป็นเพียงวิชาเลือก มีการเรียนแต่ไม่มีการสอบ ถึงมีการสอบก็ไม่มีการเอาคะแนนไปสะสมแต่ ว่าไทใหญ่ก็จะเดือดร้อนมาก เพราะใช้ภาษาของตนเองไม่ได้เต็มที่ การเรียนหนังสือก็เรียนภาษาพม่าซึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งซึ่งไม่คล้ายคลึงกันมาก การเรียนรู้ให้ดีทั้งสองภาษาจึงเป็นไปได้ยาก และเพราะเหตุที่ชาวไทใหญ่ละเลยภาษาของตนเองมานานนี้เอง การดำรงความเป็นปึกแผ่นในชาติไทใหญ่จึงเป็นไปได้ยาก เจ้าขุนสาม ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายวัฒนธรรมรัฐฉานในอดีต เคยออกสำรวจคนไทในพม่า พบว่ามีคนไทใหญ่พูดภาษาไทใหญ่มากมายหลายแห่ง แต่ไม่ได้จำนวนที่แน่นอน เพราะคนไทเหล่านั้นจะเรียกตนเองว่าเป็นพม่า พูดภาษาพม่า แต่งกายเป็นพม่า แต่งตัวเป็นพม่า จนกว่าจะไปถึงบ้าน จึงสามารถรู้ได้ว่าพวกเขารักษาภาษา และวัฒนธรรมไทใหญ่ไว้ได้แค่ไหน
วัฒนธรมประเพณี

ประเพณีปอยส่างลอง(บวชลูกแก้ว)


Dsc02897Dsc02651
ประเพณีปอยส่างลอง คือ “งานบวชลูกแก้ว” เพื่อทำการบรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา โดยจะพบเห็นการจัดปอยส่างลองกันมากที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเฉพาะในเขตอำเภอเมือง อำเภอขุนยวม และอำเภอปาย คนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมประเพณีนี้ก็สืบเชื้อสายมาจากไทใหญ่ ซึ่งก็ได้ร่วมกันสืบทอดงานประเพณีนี้มาเป็นเวลาช้านาน ดังปรากฏว่าหลักฐานว่าประเพณีนี้มีมาตั้งแต่มีการสร้างแปลนเมืองแม่ฮ่องสอน ซึ่งก็ ได้มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ทุกๆปี เนื่องจากเป็นประเพณีที่สำคัญทางศาสนา และเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด

การรำนก รำโต

การแต่งกาย

ผู้ชาย 
กางเกง เป็นกางเกงขาก๊วย เป้าและขาเหมือนกางเกงของชาวจีน เอวกว้างใช้พับทบเข้ามาให้พอดีกับเอว เรียกว่า “ก๋นไต” คาดด้วยเข็มขัดเสื้อ ตัวในใช้เสื้อเชิ้ต มีเสื้อกล้ามรองชั้นในอีกชั้นหนึ่ง เสื้อตัวนอกเป็นเสื้อคอกลมแขนยาว ไหล่เลยลงมาต่อตะเข็บตรงกึ่งกลางแขนผ่าหน้าติดด้วยกระดุมขอดห้าคู่ ด้านหนึ่งใช้ผ้าขอดเป็นหัวกระดุมลักษณะ   หัวแมลงวัน อีกด้านหนึ่งทำเป็นห่วงเย็บติดขนานกันเหลือห่วงตรงหัวผ้าเป็นหูกระดุมแล้วนำหัวกระดุมมาสอดเข้ากับหูกระดุม จะมีชายผ้าเป็นทางเย็บทอดต่อจากหัวและหูกระดุมทั้งสองข้างยาวด้านละประมาณ ๒ นิ้ว ตัวยาวเท่าสะโพก เรียกว่า “เส้อแต้กปุ่ง” มักใช้ในโอกาสที่เป็นงานในพิธี
 ผู้หญิง
คนในสมัยก่อนนิยมตัดเสื้อผ้าตัวใหญ่ ๆ ให้ลูกสวมใส่หรือใส่เสื้อผ้าสืบทอดกันไปในหมู่พี่น้อง ทั้งนี้เพื่อเป็นการประหยัด เมื่อโตพอที่จะสวมผ้าซิ่นได้แล้ว แม่ก็จะสอนให้นุ่งผ้าซิ่นคาดเข็มขัด เสื้อชั้นในจะใช้เสื้อปักลายลูกไม้ที่ด้านหลัง ยกทรงเล็กน้อยตีเกล็ดถี่ๆไว้บนทรง บ่าใหญ่ประมาณ ๒ นิ้วมือ เป็นเสื้อผ่าหน้าใช้เข็มกลัดหรือติดกระดุมเรียกว่า  “เส้อปิ๊ดจ่า”  สวมเสื้อไตหน้าต่อทับด้านนอก  ผู้ใหญ่ใช้ “เสื้อไตหน้าแว๊ด”แบบเสื้อชาวจีน คอกลมแต่ชายเสื้อสั้นแค่เอวมีกระดุมขอดสอดกับหูกระดุมอีกด้านหนึ่งเช่นเดียวกับเสื้อชาย หรือใช้กระดุมชุดที่ทำจากพลอยพม่า ถ้าใช้กระดุมชุดพลอยกระดุมผ้าที่เย็บติดกับตัวเสื้อจะเย็บเป็นหูทั้งสองข้าง ใช้ห่วงของกระดุมพลอยสอดคล้องกับหูของกระดุมผ้า แล้วใช้เม็ดพลอยลอดห่วงผ้าอีกข้างหนึ่งเพื่อลอดรั้งไห้ติดกันไว้ทั้งสองข้าง ผ้าซิ่นจะใช้ผ้าที่มีลวดลายเป็นส่วนใหญ่ เย็บตะเข็บเดียวเป็นผ้าถุงธรรมดา สมัยก่อนจะใช้ผ้าเนื้อนิ่มสีดำต่อตรงเอวเรียกว่า“หัวซิ่น”เวลานุ่งผ้าก็จะเหน็บชายหัวซิ่นได้แน่น ใช้เข็มขัดเงินคาดทับผ้าซิ่นแต่ละแบบที่หญิงไตนิยมใช้จะเรียกต่างๆกันไป

แหล่งอ้างอิง
https://b0m2006.wordpress.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88/
https://padungkait123.wordpress.com/fee-style/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C/%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88/

ประวัติความเป็นมาของชนเผ่าไทใหญ่


ไทใหญ่ หรือ ฉาน (ไทใหญ่:ไต๊พม่าIPAจีนตัวย่อ: 掸族; พินอิน: Shàn zú) คือกลุ่มชาติพันธุ์ในตระกูลภาษาไท-กะได ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ขนาดใหญ่อันดับสองของพม่า ส่วนมากอาศัยในรัฐฉาน ประเทศพม่าและบางส่วนอาศัยอยู่บริเวณดอยไตแลง ชายแดนประเทศไทย-ประเทศพม่า คนไทใหญ่ในประเทศพม่ามีประมาณ 3 หรือ 4 ล้านคน แต่มีไทใหญ่หลายแสนคน ที่ได้อพยพเข้าสู่ประเทศไทยเพื่อหนีปัญหาทางการเมืองและการหางาน ตามภาษาของเขาเองจะเรียกตัวเอง ไต หรือ ไต (ตามสำเนียงไทย) พี่น้องไตในพม่ามีหลายกลุ่ม เช่น ไตขืน ไตแหลง ไตคัมตี ไตลื้อ และ ไตมาว แต่กลุ่มใหญ่ที่สุดคือ ไตโหลง ไต = ไท และ โหลง (หลวง) = ใหญ่ ซึ่งคนไทยเรียก ไทใหญ่ เหตุฉะนั้นจะเห็นได้ว่าภาษาไต และภาษาไทยคล้ายกันบ้างแต่ไม่เหมือนกัน นอกจากนี้ยังมีคำเรียกไทใหญ่อีกอย่างว่า เงี้ยว แต่เป็นคำที่ไม่สุภาพในการเอ่ยถึงชาวไทใหญ่ ชาวไทใหญ่ถือวันที่ 7 กุมภาพันธ์ เป็นวันชาติ
เมืองหลวงของรัฐฉานคือ ตองยี ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆมีประชากร

ประมาณ 150,000 คน ส่วนเมืองสำคัญอื่นๆ ได้แก่ สีป้อ ล่า

เสี้ยว เชียงตุง และท่าขี้เหล็ก
อิทธิพลของพม่า
ในประวัติศาสตร์ไทใหญ่เต็มไปด้วยเรื่องราวสงคราม และ

ประวัติศาสตร์ระยะใกล้ก็ถูกพม่ากดไว้ จนการเรียน

ประวัติศาสตร์ของชาวไทใหญ่กลายเป็นวิชาต้องห้ามการเรียน

ประวัติศาสตร์ของชาวไทใหญ่เป็นเรื่องต้องห้ามตั้งแต่สมัย

อังกฤษปกครอง โดยไม่ยอมให้วิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชา

บังคับ เมื่อพม่ากลับมามีอำนาจเหนือดินแดนรัฐฉานจึงสืบทอด

เรื่องนี้ต่อไป  ชาวไทใหญ่ต้องเรียนภาษาพม่า เรียนทุกวิชา

เป็นภาษาพม่า แม้ผู้ที่ไม่ได้โรงเรียน เข้าวัด แต่ระเบียบพิธี และ

พิธีกรรมต่างๆ เป็นแบบพม่า และใช้ภาษาพม่าทั้งหมด อิทธิพล

ทางวัฒนธรรมของพม่าในไทใหญ่จึงมีมาก ซึ่งเกี่ยวพันกับ

ประวัติศาสตร์ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ด้วย โดยอิทธิพล

ทางวัฒนธรรมของพม่ายังเป็นสิ่งสืบเนื่องจากทางการเมืองอีก

ด้วย กล่าวคือเมื่อพม่าเป็นใหญ่ขึ้นมาก็จะเกณฑ์ให้เจ้าฟ้าไท

ใหญ่ส่งลูกสาวและลูกชายไปเมืองหลวงพม่า เจ้าหญิงเจ้าชาย

เหล่านี้จึงได้รับวัฒนธรรมพม่ามาอย่างไม่รู้ตัว และนำกลับมา

เผยแพร่แก่ประชาชนไทใหญ่ในรูปแบบของ

ภาษา ดนตรี นาฏศิลป์ และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ เช่น 

เกิดความนิยมว่า วรรณคดีที่ไพเราะซาบซึ้งควรมีคำพม่าผูก

ผสมผสานกับคำไท ความเป็นพม่าจึงครอบกรอบสังคมไทใหญ่


แหล่งอ้างอิง
http://impect.org/impect/showethnic.php?indigenous_id=5

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ภาษา วัฒนธรรมประเพณี ศาสนา ความเชื่อ และพิธีกรรมของชนเผ่ากะเหรี่ยง

ภาษา
กะเหรี่ยงแต่ละเผ่ามีภาษาพูด และภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยการดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมอักษรโรมัน
 วัฒนธรรมประเพณี
ชาวกะเหรี่ยงมีประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการทำพิธีกรรมเลี้ยงผี บวงสรวงดวงวิญญาณ ด้วยการต้มเหล้า ฆ่าไก่ – แกง และมัดมือผู้ร่วมพิธีด้วยฝ้ายดิบ ซึ่งเกี่ยวโยงกัน ประเพณีอื่นๆ ได้แก่
ประเพณีแต่งงาน
ผู้หญิงจะเป็นผู้เลือกคู่ครองเอง เจ้าสาวจะต้องทอเสื้อผ้า กางเกง ย่ามไว้ให้เจ้าบ่าว ทั้งเจ้าบ่าวเจ้าสาวต้องฆ่าหมูฆ่าไก่เพื่อทำพิธีกรรมบอกต่อผีบรรพบุรุษและเป็นอาหารเลี้ยงแขก แต่งงานแล้วฝ่ายชายต้องมาอยู่บ้านฝ่ายหญิงฤดูเก็บเกี่ยว ก่อนแยกไปปลูกบ้านใกล้กันเรื่องราวของการสู่ขอ (เอาะ เฆ) ของกะเหรี่ยง มีลักษณะดังนี้เมื่อเป็นที่รับรู้แล้วว่าหญิงชายรักชอบพอกัน พ่อแม่และญาติพี่น้องของฝ่ายหญิงก็จะส่งคนไปหาฝ่ายชาย เพื่อสอบถามให้แน่ใจว่าฝ่ายชายรัก และยินดีที่จะแต่งงานกับฝ่ายหญิงจริงหรือไม่ หากฝ่ายชายรักชอบพอกัน และยินยอมที่จะแต่งงานกับฝ่ายหญิง ก็จะมีการนัดหมายวันเวลาทำพิธีแต่งงานกันในเวลานั้น (ตามหลักประเพณีกะเหรี่ยงฝ่ายหญิงจะต้องเป็นฝ่ายไปขอฝ่ายชาย)เมื่อฝ่ายชายตกลงปลงใจว่าจะแต่งงานกับฝ่ายหญิงและนัดหมายวันเวลาแต่งงานที่แน่นอนแล้วฝ่ายชายก็ส่งเถ้าแก่ไปทำพิธีหมั่นหมาย (เตอะ โหล่) ฝ่ายหญิงก่อนวันแต่งงานในพิธีฝ่ายหญิงจะฆ่าไก่ 2 ตัว ในการู่ทำอาหารเพื่อเลี้ยงรับรองเถ้าแก่ของ่ฝ่ายชายและวันรุ่งขึ้นก็จะนัดหมายวันเวลาท ี่ฝ่ายชายและเพื่อนๆ จะมาหาฝ่ายหญิงเพื่อทำพิธีแต่งงานต่อไป


ประเพณีปีใหม่
โดยหัวหน้าหมู่บ้านจะเป็นผู้ระบุวันล่วงหน้า แต่ละหมู่บ้านจะมีปีใหม่ในแต่ละปีไม่ตรงกัน เพราะเป็นพิธีที่หมายถึงการเริ่มต้นของฤดูกาลการเกษตร และอยู่เย็นเป็นสุข

ศาสนา ความเชื่อ และพิธีกรรม
เดิมชาวกะเหรี่ยงนับถือผี มีการบวงสรวงและเซ่นสังเวยอย่างเคร่งครัด ภายหลังหันมานับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์มากขึ้น แต่ก็ยังคงความเชื่อเดิมอยู่ไม่น้อย เช่น ความเชื่อเรื่องขวัญหรือการทำกิจกรรมต่างๆ จะต้องมีการเซ่นเจ้าที่เจ้าทาง และบอกกล่าวบรรพชนให้อุดหนุนค้ำจูน ช่วยให้กิจการงานนั้นๆ เจริญก้าวหน้า ทำเกษตรกรรมได้ผลผลิตดี ให้อยู่เย็นเป็นสุข ปกป้องคุ้มครองดูแล และยังเป็นการขอขมาอีกด้วย
กี่บะหน่าจึ (ปวาเกอญอ) หรือ พิธีทำขวัญให้ควาย
พิธีกรรมนี้ทำเฉพาะครอบครัวที่มีควายเท่านั้น และทำกันปีละครั้งเมื่อเสร็จจากฤดูไถหว่านของแต่ละปี ส่วนใหญ่วันที่ประกอบพิธีกรรมจะทำในวันพฤหัสบดี แต่ต้องทำก่อนที่จะหมดฤดูฝนในปีนั้นๆ ครอบครัวที่มีควายจะนัดหมายให้ลูกของตัวเองกลับมา แม้ว่าจะไปทำงานหรือเรียน ก็ต้องกลับมาทำพิธีนี้ แต่ถ้าหากว่าคนอื่นที่ไม่ได้รับคัดเลือกไปทำพิธี มีความเชื่อว่าจะทำให้ควายสุขภาพไม่ดี ตาบอด ไม่มีลูก เป็นโรค ล้มตายไป สำหรับคนที่จะทำพิธีนั้นจะต้องผ่านการคัดเลือก โดยคนที่มีความรู้ในการทำนาย ซึ่งการทำนายนี้มักจะใช้ข้าวสาร ใบไม้ ไข่ กระดูกไก่หรือบางทีก็ดูลายมือ หลังจากที่ได้ทราบผลการทำนายซึ่งผู้ที่ได้รับการคัดเลือกนั้น อาจเป็นเพศชายหรือหญิงก็ได้ โดยความเชื่อในเรื่องการทำขวัญให้ควายนั้น ชาวกะเหรี่ยงเชื่อว่า เพราะควายเป็นสัตว์ที่มีพระคุณและผูกพันธ์กันมานาน การทำขวัญให้ควายเป็นการแสดงความเคารพ ขอบคุณ ขออโหสิกรรม ตลอดจนถึงการอวยพรให้ควายมีสุขภาพแข็งแรง มีลูกดก ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บมาเยือน
การทำพิธีกรรม เริ่มจากเตรียมเครื่องเซ่นให้พร้อม สำหรับไก่ 1 คู่ (ต้องฆ่าและต้มมาเรียบร้อยแล้ว) หลังจากนั้นผู้ประกอบพิธีกรรมก็จะถือเครื่องเซ่น ไปยังคอกที่มัดควายไว้ จากนั้นก็เอาวงฝ้ายที่เตรียมไว้เท่าจำนวนควายของตัวเองที่มีอยู่ไปกล้องที่เขาควายทั้งสองข้างของแต่ละตัว จนครบทุกตัว ถัดจากนั้นมาก็เอาเทียนไปสอดติดกับเขาควายที่เอาฝ้ายคล้องไว้ก่อนแล้ว หลังจากนั้นก็โปรยข้าวสาร และประพรมน้ำขมิ้นส้มป่อย ระหว่างที่พรมน้ำขมิ้นส้มป่อย ผู้เป็นพ่อจะสวดตามให้ด้วย ขั้นตอนสุดท้ายคือรินเหล้าให้ควาย อาจเทราดบนหัวควายก็ได้ เป็นอันเสร็จพิธี สำหรับไก่ที่นำมาประกอบพิธีกรรมนั้น ก็เอาไปทำกินในครอบครัว และเชิญญาติพี่น้องหรือเพื่อนบ้านที่สนิทกันมาร่วมรับประทานอาหารร่วมกัน

"ถางซีไกงย" หรือ พิธีขับไล่สิ่งชั่วร้ายโรคภัยไข้เจ็บออกจากหมู่บ้าน
พิธีกรรมและความเชื่อของกระเหรี่ยงมีอยู่หลายพิธี แต่พิธีกรรมที่ทำสำหรับชาวบ้านทั้งหมู้บ้านก็เห็นจะมีอยู่พิธีเดียวคือพิธี “ถางซีไกงย” ซึ่งมีที่มาจากความเชื่อว่า หากชาวบ้านเจ็บป่วยพร้อมกันหลายๆ คน โดยไม่รู้สาเหตุของอาการป่วยนั้น และหรือความเชื่อที่ว่ามีสิ่งอัปมงคลเข้ามาในหมู่บ้าน ยกตัวอย่างเช่น หากไก่ป่าบินเข้ามาในหมู่บ้านก็จะเชื่อว่าเป็นลางไม่ดี ผู้นำและผู้อาวุโสของหมู่บ้านก็จักปรึกษากันเพื่อหาวิธีรักษาและป้องกัน เมื่อหารือจนได้ข้อสรุปแล้ว จึงกำหนดวันเพื่อทำพิธี ซึ่งกำหนดให้เป็นวันอังคารของเดือนไหนก็ได้ในปีที่เห็นว่ามีคนในหมู่บ้านเจ็บป่วยพร้อมกันมากจนผิดสังเกตุ การทำพิธีกรรมนี้ ต้องทำวันอังคารเท่านั้นเพราะเชื่อว่าเป็นวันแรง

การทำพิธีกรรม เริ่มจากชาวบ้านจะช่วยกันสานตะแกรงขึ้นมา 4 ใบ ที่บ้านของผู้นำประกอบพิธีกรรม เมื่อสานตะแกรงเสร็จแล้ว ชาวบ้านจะนำไปแขวนไว้กลางลานบ้านผู้นำในลักษณะเรียงต่อกัน หลังจากนั้นชาวบ้านจะนำเครื่องประกอบพิธีกรรมห่อไว้ในใบสัก แล้วนำไปวางบนตะแกรงทั้งสี่ใบนั้น เมื่อถึงเวลา ซึ่งตามประเพณีแล้วจะกำหนดเวลาให้เป็นช่วงเย็นของวัน เมื่อถึงเวลา ผู้นำและผู้อาวุโสของหมู่บ้านจะเริ่มสวดขับไล่สิ่งชั่วร้าย โรคภัยไข้เจ็บ สิ่งอัปมงคลต่างๆให้ออกไปจากหมู่บ้าน เมื่อสวดเสร็จแล้วผู้นำและผู้อาวุโสที่สวดจะถ่มน้ำลายลงในตะแกรงทั้งสี่ใบ หลังจากนั้นลูกบ้านคนอื่นๆ ทั้งหมู่บ้านก็จะทยอยกันมาถ่มน้ำลายลงบนตะแกรงทั้งสี่จนครบทุกคน ส่วนผู้ที่ไม่ได้มาร่วมพิธีกรรม ก็จะบ้วนน้ำลายลงบนสำลี แล้วฝากให้คนในครอบครัวที่สามารถ ไปร่วมพิธีได้นำไปทิ้งบนตะแกรงทั้งสี่ เมื่อลูกบ้านร่วมพิธีเสร็จทุกคนแล้ว ก็จะมีตัวแทนของคนในหมู่บ้านช่วยกันหามตะแกรงทั้งสี่ใบนั้นไปทิ้งไว้ที่ทิศทั้งสี่ของหมู่บ้าน ระหว่างที่นำตะแกรงออกไป ผู้นำและผู้อาวุโสจะใช้ขี้เถ้าโปรยตามหลังตัวแทนก่อนที่จะออกจากบริเวณพิธี ด้วยเชื่อว่าขี้เถ้านั้นจะบังสิ่งชั่วร้าย อัปมงคลต่างๆ ไม่ให้ย่างกรายเข้าในหมู่บ้านอีกต่อไป

นี่ซอโค่ หรื พิธีขึ้นปีใหม่
วันขึ้นปีใหม่ ภาษากะเหรี่ยงเรียกว่า นี่ซอโค่ เป็นประเพณีที่จัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี ซึ่งจะตรงกับช่วงหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว วันขึ้นปีใหม่จะจัดปีละครั้งเท่านั้น เป็นวันที่สำคัญวันหนึ่งของชาวกะเหรี่ยง เพราะเหล่าญาติพี่น้องที่ได้แต่งงาน หรือจากบ้านไปทำงานที่อื่น จะกลับมาร่วมงานปีใหม่กันอย่างถ้วนหน้า
การทำพิธีกรรม เริ่มจากจัดเตรียมขนมหลายชนิด เช่น ข้าวเหนียวต้ม ข้าวปุ๊ก ข้าวหลาม เพื่อวันรุ่งขึ้นจะถวายแด่เทพเจ้า เตรียมเหล้า สำหรับประกอบพิธีและดื่มร่วมกัน ตกกลางคืนของก่อนวันขึ้นปีใหม่ ผู้นำศาสนาที่ชาวกะเหรี่ยงเรียกว่า "ฮี่โข่" จะทำการเรียกเหล่าชาวบ้านมาชุมนุม ในแต่ละบ้านจะส่งตัวแทนบ้านละหนึ่งคน คือ หัวหน้าครอบครัว (ต้องเป็นผู้ชาย) ตอนไปชุมนุมจะต้องเตรียมเหล้า บ้านละหนึ่งขวดไปยังบ้านของผู้นำศาสนา (ฮี่โข่) ด้วย เมื่อมาพร้อมกันทั้งคน และเหล้าแล้ว ฮี่โข่จะเริ่มทำพิธีกรรมพิธีกรรมนี้ชาวกะเหรี่ยงเรียกว่า พิธีกินหัวเหล้า (เอาะซิโค) โดยตอนแรกจะนำขวดเหล้ามารวมกัน โดยฮี่โข่จะทำการอธิษฐาน จากนั้นจะรินเหล้าลงในแก้ว แล้วให้คนที่มาร่วมพิธีดื่ม วิธีการดื่มคือ เอาขวดแรกของคนที่มาถึงก่อน ฮีโข่จะเอามาเทลงแก้ว แล้วฮี่โข่จะจิบเป็นคนแรก จากนั้นก็ให้คนต่อไปจิบต่อ จิบเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนครบทุกคนที่มาร่วมงาน แล้ววนกลับมาถึงคิวฮี่โข่ ฮี่โข่จะทำการเททิ้งพร้อมอธิษฐานให้พร แด่เจ้าบ้านและครอบครัวของเจ้าของเหล้าขวดที่ได้เทไปแล้ว จะทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนครบทุกขวดของทุกบ้านที่มาร่วมงาน บางครั้งบางทีหมู่บ้านไหนที่มีหลังคาเรือนเยอะอาจทำถึงเช้้าเลยก็ว่าได้
เช้าวันขึ้นปีใหม่ ชาวกะเหรี่ยงจะตื่นแต่เช้าแล้วมาฆ่าหมู ฆ่าไก่ เพื่อจะนำมาประกอบพิธีในวันรุ่งเช้า โดยเริ่มจากการนำไก่ที่ฆ่าแล้ว พร้อมเหล้าหนึ่งขวดมาตั้งที่ขันโตก เพื่อจะประกอบพิธีมัดข้อมือ หรือเรียกขวัญของลูกหลานในแต่ละบ้าน โดยผู้เฒ่าผู้แก่ในครอบครัวจะเป็นผู้ประกอบพิธีนี้ เวลานี้สมาชิกทุกคนในครอบครัวจะอยู่กันครบหน้า (คล้ายๆ กับการรดน้ำดำหัว) ผู้เฒ่าผู้แก่เริ่มมัดข้อมือลูกหลาน โดยจะนำไม้มาเคาะที่ขันโตก เพราะเชื่อว่า เป็นการเรียกขวัญของลูกหลานให้กลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว จากนั้นก็มัดข้อมือพร้อมอธิษฐานให้พร ในคำอธิษฐานนั้น จะกล่าวให้ทุกคนในครอบครัวอยู่ดีมีสุข หลุดพ้นจากสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง หลังจากมัดข้อมือเสร็จแล้วจะรับประทานอาหารร่วมกัน พอรับประทานอาหารเสร็จ ก็จะออกตระเวนไปตามบ้านของแต่ละบ้านแต่ละครอบครัว เพื่อกินสังสรรค์กัน พร้อมรินเหล้าเพื่ออธิษฐาน และอวยพรให้ซึ่งกันและกัน จากนั้นจะเดินทางไปกินเหล้าทุกๆ บ้านในหมู่บ้าน และอวยพรให้ทุกบ้านมีแต่ความสุขไปด้วย พิธีขึ้นปีใหม่ของชาวกะเหรี่ยงนั้นจะมีวันที่สำคัญที่สุด คือ วันแรก ส่วนวันอื่นๆ แล้วแต่ว่าอยากกินถึงวันไหน ซึ่งแล้วแต่แต่ละหมู่บ้านที่ได้จัดขึ้น หลังจากพิธีขึ้นปีใหม่ “นี่ซอโค่” เรียบร้อยแล้วก็เป็นช่วงเวลาที่จะ ต้องเริ่มต้นวิถีการทำมาหากินของปีถัดไป
ที่กล่าวมาทั้งหมดคือกะเหรี่ยงพุทธ หรือ "เอาะ แค" นอกจากนี้ยังมีกะเหรี่ยงอีกกลุ่ม คือ กะเหรี่ยงคริสต์ กะเหรี่ยงคริสต์จะมีพิธีกรรมที่คล้ายๆ กัน แต่จะทำในแบบ ศาสนาของตนเอง คือเข้าโบสถ์ อธิษฐานเสร็จ จะทานเข้าร่วมกัน จากนั้นจะมีการประมูลราคาข้าวของของแต่ละบ้านที่นำมาประมูลร่วมกัน หลังจากประมูลราคาสิ่งของเสร็จ ก็จะมีการจัดกลุ่มแข่งกีฬาพื้นบ้านชนิดต่างๆ ตกเย็นมีการแสดงละครสร้างความบรรเทิง จะไม่มีการกินเหล้า หรือเมามายในวันนี้ จากนั้นก็จะแยกย้ายกันกลับบ้านของตนเอง ในช่วงนี้จะมีการอธิษฐานทุกคืนจนครบ 7 คืน จึงจะถือว่าสิ้นสุดพิธีขึ้นปีใหม่

วันอีศเตอร์
วันอิสเตอร์เป็นวันที่พระเจ้าทรงเป็นขึ้นมาจากความตาย ซึ่งมีหลักการนับวัน และเวลาอยู่ในช่วงวันอาทิตย์ หลังพระจันทร์เต็มดวงของวันที่ 21 เดือนมีนาคมของทุกๆ ปี ตามหลักที่พระคัมภีร์ที่ได้บัญญัติไว้ จึงทำให้เกิดความเชื่อในเรื่องวันอิสเตอร์ เชื่อกันว่าพระเยซู์ยอมให้ทหารโรมันแห่งชนชาติอิสราเอลตรึงพระองค์บนไม้กางเขน เพื่อถ่ายบาปให้กับมนุษย์โลก หลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์ลงพระศพของพระองค์ถูกเคลื่อนย้ายเก็บไว้ในอุโมงค์ ก่อนที่จะนำไปฝัง หลังพระองค์สิ้นพระชนม์ได้สามวันพระองค์ได้ฟื้นคืนชีพในเช้ามืดของวันอาทิตย์

เหตุผลเชื่อกันว่าช่วงเวลาที่ศพของพระองค์ได้ถูกเก็บไว้ในอุโมงค์ มารีย์ หญิงชาวมักดาลา และสะโลเมเป็นสาวกของพระเยซู หญิงเหล่านี้จะตื่นแต่เช้ามืด เพื่อที่จะนำน้ำมันหอมมารินลงบนพระศพของพระองค์ เป็นการช่วยรักษาศพให้คงสภาพไม่เน่าเปื่อย ฉะนั้น เมื่อถึงวันอิสเตอร์คนปกากะญอจะตื่นแต่เช้ามืด เพื่อที่จะไปยังสุสานของแต่ละครอบครัว จะนำดอกที่เตรียมไว้นำไปเคารพศพของบรรพชนของตนเอง เมื่อทุกคนทำธุระของตัวเองเสร็จ ทุกคนในหมู่บ้านมาครบ อาจารย์ศาสนาจะเป็นผู้เริมกล่าวเปิด และประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

กิจกรรมควานหาไข่
เป็นกิจกรรมที่เพลิดเพลิน เด็กๆ จะชอบเป็นพิเศษ เป็นกิจกรรมที่น่ารักอบอุ่น จะเห็นความพยายามของทุกคนที่ตั้งใจที่หาไข่ที่ซ่อนไว้ตามจุดต่างๆ บริเวณสุสานกิจกรรมนี้มีมาช้านานเป็นกิจกรรมที่สนุก และแฝงไปด้วยคติสอนใจ ความหมาย และที่มาที่ไปเล่ากันว่ามีแกะอยู่หนึ่งร้อยตัว แล้ววันหนึ่งมีแกะที่หลงหายไปหนึ่งตัว ซึ่งเป็นตัวที่เกเร และเจ้าของรักมากจึงออกตามหาจนเจอ เมื่อเจอจึงเกิดความชื่นชมยินดี ฉะนั้นการหาไข่ จึงเปรียบเสมือนการหาแกะที่หลงหายไปหนึ่งตัวนั้นเอง ซึ่งเป็นตำนานที่บรรพบุรุษชาวปากากะญอที่นับถือศาสนาคริสต์ ได้สืบทอดเป็นตำนานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่บัญญัติลงไว้ในพระคัมภีร์เพื่อเป็นสื่ออันสำคัญให้ลูกหลาน ได้ศึกษา และได้ปฏิบัติตาม ณ.เวลานี้เป็นระยะเวลากว่าร้อยกว่าปีที่มีการปฏิบัติกันมา และคาดหวังว่าจะมีสืบทอดกันไปในเจตนารมณ์ที่ดีงามตลอดไป



แหล่งอ้างอิง http://www.sawadee.co.th/thailand/hilltribes/karen.html

ประวัติความเป็นมาของชนเผ่ากะเหรี่ยง

ประวัติความเป็นมาของชนเผ่ากะเหรี่ยง

กะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่จัดได้ว่ามีหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา มีการนับถือศาสนาที่ต่างกัน แต่กะเหรี่ยงดั้งเดิมจะนับถือผี เชื่อเรื่องต้นไม้ป่าใหญ่ ภายหลังหันมานับถือพุทธ คริสต์ เป็นต้น กะเหรี่ยง มีถิ่นฐานตั้งอยู่ที่ประเทศพม่า แต่หลังจากถูกรุกรานจากสงคราม จึงมีกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทย กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย กะเหรี่ยงสะกอ หรือที่เรียกนามตัวเองว่า ปากะญอ หมายถึงคน หรือมนุษย์นั้นเอง กะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยมีมิชชันนารีเป็นผู้คิดค้นดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมภาษาโรมัน กลุ่มนี้หันมานับถือศาสนาคริสต์เป็นส่วนใหญ่ กะเหรี่ยงโปร์นั้นเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างเคร่งครัดในประเพณี พบมากที่ อำเภอ แม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอ อมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และแถบตะวันตกของประเทศไทย คือ กะเหรี่ยงบเว พบที่ อำเภอ ขุนยวม แม่ฮ่องสอน ส่วนปะโอ หรือตองสูก็มีอยู่บ้าง แต่พบน้อยมากในประเทศไทย ชนเผ่า "ปกากะญอ" เป็นชนเผ่าที่บอกกล่าวถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมานับร้อยนับพันเรื่อง เรียงร้อยเก็บไว้ในเเนวของนิทาน อาจจะไม่ใช่หลักฐานที่เเน่ชัด เเต่ก็พยายามที่จะเล่าสืบทอดให้ลูกหลานได้รู้ ถึงความเป็นมาของเผ่าพันธุ์ และวัฒนธรรมของตัวเอง เล่ากันตั้งแต่สมัยที่พระเจ้าสร้างโลก พระองค์ได้สร้างมนุษย์ คู่แรก คือ อดัม กับเอวา ทั้งสองคนได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสวน (เอเดน) ที่พระองค์ได้สร้างไว้ ทั้งสองได้ทำ ผิดกฎ ของสวรรค์ จึงถูกเนรเทศลงมาใช้กรรมอยู่ในโลกจนกระทั่งมีลูกหลานสืบเชื้อสายมาจนถึงทุกวันนี้
ที่ตั้งของชนเผ่ากะเหรี่ยง ตั้งอยู่ที่ภูเขา "ทอทีปล่อก่อ" มีผู้เฒ่า "เทาะแมป่า" เป็นหัวหน้า หมู่บ้านสืบเชื่อสายมาจนลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง เมื่อที่ทำกินไม่พอเทาะแมป่าจึงพาลูกหลานอพยพย้ายถิ่นฐาน ระหว่างการเดินทางว่ากันว่าเทาะแมป่าเดินเร็วมากลูกหลานพากันหยุดพัก เทาะแมป่าไม่สนใจลูกหลาน พยายามที่จะเดินไปข้างหน้าเรื่อยๆ จนมาหยุดตามที่ต่างๆ แถบแถวลุ่มน้ำสาละวินบ้าง ลุ่มน้ำอิระวดีบ้าง กระทั้งสืบเชื้อสายเผ่าพันธุ์ จนมาถึงทุกวันนี้มีกะเหรี่ยง อาศัยอยู่กระจัดกระจาย ทั่วไปในเขตพม่า ตลอดจนในเขตภาคเหนือ และตะวันออกของประเทศไทย เอกสารบางชนิดระบุว่าคนกระเหรี่ยงอาศัยอยู่ในตะวันออกเฉียงไต้ของประเทศจีน เมื่อถูกขับไล่หนี ลงมาตั้งหลักในระว่างกลางเขตพม่ากับมอญ ตอนหลังถูกพม่าบีบ ต้องอพยพอยู่บนภูเขา เอกสารบางชิ้นระบุว่าคนกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยล้วนมาจากพม่าทั้งสิ้น เพียงแต่ ไม่มีเอกสารยืนยันว่าเข้ามาอยู่เมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าเข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย บ้างก็ว่าในดินแดนล้านนา หรือก่อนโยนกด้วยซ้ำ นั้นหมายถึงการกำเนิดเมืองเชียงใหม่
จากคำบอกกล่าวของ "พือ มูล บุญเป็ง" คนเฒ่า คนแก่ ได้กล่าว เล่าความเป็นมาของกะเหรี่ยงในประเทศไทย พื้นที่หลักที่กะเหรี่ยง (ปกากะญอ) อาศัยอยู่ครั้งเเรกคือ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ โดยยึดอาชีพเกษตรกรรม ในการหาเลี้ยงชีพ ต่อมาในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลไทยได้เปิดโอกาสให้บริษัทต่างชาติประมูล โครงการทำป่าสัมปทาน ณ.ตำบลแม่ยาว จังหวัดเชียงราย โดยบริษัทที่ชนะการประมูล จะได้กรรมสิทธิ์การทำธุรกิจขนส่งไม้ จากตำบล แม่ยาว ออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งในขณะนั้น บริษัทจากประเทศฝรั่งเศส หรือที่ชาวกระเหรี่ยงเรียกกันว่า บริษัท "ห้าง โบ๋ เบ๋" ได้กรรมสิทธิ์ในการทำธุรกิจสัมปทานในครั้งนั้นไป "พือ มูล บุญเป็ง" เล่าต่อว่าหลังจากที่ "ห้างโบ๋ เบ๋" เข้ามาทำธุรกิจในเมืองไทย ปัญหาแรกที่พบคือการสื่อสาร และการทำสัมปทานไม้ในสมัยนั้น จำเป็นต้องมี ช้างควานช้างในการลากไม้ซุง หลังจากเสร็จสัมปทาน กะเหรี่ยง (ปกากะญอ) ส่วนหนึ่งได้ตั้งหลักปักฐานอยู่บ้านน้ำลัด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยเห็นว่าเป็นที่เหมาะแก่การทำการเกษตร ได้ใช้ชีวิตมาจนกระทั่งสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงทำสงครามกะเหรี่ยงได้ร่วมมือกับทหารไทย โดยใช้ช้างเป็นพาหนะ ในการลำเลียง สิ่งของ เสบียง อาหาร ให้กับทหารไทยในการรบครั้งนั้น หลังสงครามมีชนพื้นเมืองย้ายถิ่นฐานกลับมามากขึ้น ทำให้ที่คับแคบแออัดขัดแย้งที่ทำมาหากิน กะเหรี่ยงส่วนหนึ่งจึงตัดสินใจออกเดินทางอีกครั้ง
เนื่องด้วยชนเผ่ากะเหรี่ยง มีนิสัยรักความสงบ ชอบใช้ชีวิตอย่างสันโดษ เมื่อมีประชากรหนาแน่น จึงมองหาที่ทำกินใหม่ โดยเล็งเห็นว่า ตำบลแม่ยาว ที่เคยเป็นสัมปทานเก่า เป็นที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก ขณะนั้นผู้เฒ่า (เซโค่) ตุดง ธุระวร ได้เป็นผู้นำพาลูกหลาน และลูกบ้านส่วนหนึ่งย้ายขึ้นมา ตั้งหลัก ปักฐาน อยู่ที่ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย คำว่า แม่ยาว ตั้งขึ้นมาจากสัมปทานแม่ยาวนั้นเอง แต่ยังมีบางส่วนที่ ย้าย กระจัดกระจายออกไป ตามส่วนต่างๆ ตามแทบแถว ตำบล ทุ่งพร้าว อำเภอ แม่สรวย จังหวัดเชียงราย ยังมีส่วนที่ย้าย และอาศัยอยู่แถบแนวชายแดนของจังหวัดกาญจนบุรี ใช่ว่าจะมีเพียงเท่านี้ ทุกวันนี้ ยังมีประชากรกะเหรี่ยงอาศัยกระจัดกระจายทั่วทุกภาคของประเทศไทย

แหล่งอ้างอิง

http://www.openbase.in.th/node/648